วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การจัดการงานอาชีพ


การจัดการงานอาชีพ

          การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจัดการประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือการสั่งการ และการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน การจัดการทรัพยากรประกอบด้วยการใช้งานและการจัดวางทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรเทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ และยังช่วยการบริหารให้กับองค์กต่างให้เจริญรุ่งเรือง



งานอาชีพ คือ งานที่ทำเป็นประจำ ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อนำมาเลี้ยงตนเอง ครอบครัว และเพื่อซื้อจ่ายปัจจัยที่จำเป็นหรือต้องการ งานอาชีพมักจะต้องออกไปทำนอกบ้าน แต่บางอาชีพที่เป็นอาชีพอิสระสามารถทำงานอยู่กับบ้าน หรืออาจออกไปตามสถานที่ต่างๆตามความจำเป็น ต้องใช้ความคิด ความรอบคอบ และสติปัญญา ในการวางแผน จัดการและแก้ไขปัญหา งานอาชีพจึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี

ความสำคัญของงานอาชีพ คือ ทำให้เกิดรายได้ เพื่อนำมาเลี้ยงดูครอบครัว ตนเอง และเพื่อให้มีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยปัจจัยที่จำเป็น งานอาชีพบางอาชีพ อาจก่อให้เกิดประโยชน์และได้ช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนให้พ้นทุกข์ เช่น งานเพื่อสังคมต่างๆ



ความจำเป็นของการประกอบอาชีพมีดังนี้

 1.  เพื่อตนเอง การประกอบอาชีพทำให้มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอยในชีวิต

 2.  เพื่อครอบครัว ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้รับการเลี้ยงดูทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 3.  เพื่อชุมชน ถ้าสมาชิกในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้ดีจะส่งผลให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น อยู่ดี      กินดี ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาตนเองได้

 4.  เพื่อประเทศชาติ  เพื่อประชากรของประเทศมีการประกอบอาชีพที่ดี  มีรายได้ดี  ทำให้มีรายได้ที่เฉสี่ยภาษีให้กับรัฐบาลมีรายได้ไปใช้บริหารประเทศต่อไป

        มนุษย์ไม่สามารถผลิตสิ่งต่างๆมาสนองความต้องการของตนเองได้ทุกอย่างจำต้องมีการแบ่งกันทำและเกิดความชำนาญ จึงทำให้เกิดการแบ่งงานและแบ่งอาชีพต่างๆขึ้น สาเหตุที่ต้องมีการแบ่งอาชีพมีดังนี้

              1.  ความรู้ความสามารถของแต่ละคนแตกต่างกัน

              2.  ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน

              3.  ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน

การแบ่งงานและอาชีพให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

              1.  สามารถตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันได้

              2.  ได้ทำงานที่ตนเองถนัด

              3.  ทำให้กิดการขยายตัวของธุรกิจในด้านต่างๆ




การประกอบอาชีพของคนไทย

        การทำมาหากินของคนไทยสมัยก่อน คือการทำไร่  ทำนา  ทอผ้า  ทำเครื่องจักสานไว้ใช้ที่เหลือก็จะจำหน่ายในชุมชน  คนไทยบางกลุ่มจะเป็นข้าราชการเมื่อบริษัทต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย ทำให้มีการจ้างงาน และมีอาชีพให้คนไทยเลือกทำมากขึ้น

ลักษณะอาชีพของคนไทย

1.  งานเกษตรกรรม เช่น  ปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์  การประมง

2.  งานอุตสาหกรรม เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความถนัดด้านช่างสาขาต่างๆ และเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ

3.  งานธุรกิจ เป็นงานด้านการค้าขาย  การทำบัญชี การจัดการธุรกิจ  การติดต่อสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ

4.  งานคหกรรม  เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เย็บปักถักร้อย  ตกแต่งบ้าน

5.  งานศิลปกรรม  เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรมของไทย เช่น งานหัตถกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม



อาชีพที่มีความมั่นคงในชีวิต

        หากเปรียบเสาเข็มเป็นรากฐานของตึกสูง ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา ก็คือ พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และจัดหาปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง ในการเลือกประกอบอาชีพนั้น ควรพิจารณาจากความถนัด ความสนใจ ความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นอาชีพที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมาย และควรเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข ได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอกับการดำเนินชีวิต และเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ หากทุกคนเลือกอาชีพที่มความมั่นคงต่อชีวิต สังคมก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดี เศรษฐกิจก็จะเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย




อาชีพที่มีส่วนร่วม และพัฒนาประเทศ

   อาชีพ หมายถึง การทำมาหากิน ทำธุรกิจ  ตามความชอบหรือความถนัด  ได้ค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือ เงินเดือน ประชาชนในประเทศที่สามารถมีอาชีพเป็นหลักถือได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาประเทศได้

        อาชีพที่มีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ สามารถแบ่งออกเป็น 8 ประเภท  คือ

               1.  อาชีพเกษตรกรรม (Agriculture) เป็นอาชีพหลักของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน ได้แก่ การทำ สวน การทำนา ทำไร่ การประมง การเลี้ยงสัตว์ และการป่าไม้

               2.  อาชีพเหมืองแร่ (Mineral) เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม การขุดเจาะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติต่างๆมาใช้ เช่น ถ่านหิน  ดีบุก  น้ำมัน และปูนซีเมนต์ ฯลฯ

               3.  อาชีพอุตสาหกรรม (Manufacturing) เป็นการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิตและบริการทั่วๆไปทั้งอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดใหญ่ แบ่งได้ดังนี้

                   3.1  อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือ อุตสาหกรรมขนาดย่อม  เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ใช้แรงงานสมาชิกในครอบครัว วัสดุที่ใช้ผลิตหาได้ในท้องถิ่น ผลิตัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

                4.  อาชีพก่อสร้าง (Construction) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย ถนน สะพาน เขื่อน ฯลฯ

                5.  อาชีพการพาณิชย์ (Commercial) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวช้องกับการตลาด การจำหน่ายสินค้าปลีก และสินค้าส่ง

                 6.  อาชีพการเงิน (Financial) การดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือและการลงทุน  ได้แก่ ธนาคารต่างๆ

                 7.  อาชีพบริการ (Services) เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในการอำนวยความสะดวกสบาย เป็นการขนส่ง  การสื่อสาร  การโรงแรม  การท่องเที่ยว  โรงพยาบาล  โรงภาพยนต์  ภัตตาคาร  ร้านอาหาร  สถานบันเทิงต่างๆ ฯลฯ

                  8.  อาชีพอื่นๆ เป็นอาชีพที่นอกเหนือจากอาชีพดังกล่าวข้างต้น  ได้แก่ อาชีพอิสระต่างๆ เช่น แพทย์ ครู  เภสัช  วิศวกร  สถาปนิก  จิตรกร  ประติมากร  เป็นต้น



อาชีพธุรกิจที่มีประโยชน์ต่อประชาชน  สังคม และประเทศชาติ

        อาชีพธุรกิจที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน  สังคม  และประเทศชาติ  ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าการบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ความต้องการเกิดขึ้นต่อๆไป  โดยไม่สิ้นสุดทำให้เกิดการผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการจึงเกิดการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค เรียกว่าระบบคนกลาง  ระบบคนกลางได้แก่  พ่อค้าส่ง  พ่อค้าปลีก  ตัวแทนจำหน่าย  นายหน้า  เมื่อมีสินค้าเกี่ยวข้องจึงต้องมีระบบขนส่งและเกิดการจ้างงาน  ช่วยให้ประชาชนมีงานทำ  มีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น  สร้างรายได้ให้กับรัฐ  โดยประชาชนช่วยกันเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

        การที่ประชาชนมีอาชีพ และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจำนวนมากจึงต้องมีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น


ขอขอบคุณ  http://tnkon.blogspot.com/2017/12/blog-post_19.html

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การวางแผนงาน

การวางแผนงาน


การวางแผน หมายถึง การมองไปข้างหน้า พร้อมกับข้อมูลที่มีการศึกษาค้นคว้า มาเป็นอย่างดี  ซึ่งการวางแผนการจัดการมักจะเป็นบทสรุปของสิ่งที่มีความสำคัญ และเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอนาคตที่ดีขององค์กร และเป็นเป้าหมายในการทำงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ดังนั้นการวางแผนจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการพิจารณาถึงทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านกายภาพที่มีอยู่ปัจจุบัน และทักษะความรู้ ความสามารถที่เป็นจุดเด่นของทีมงานหลัก  เพื่อให้การวางแผนงานทุกอย่างสามารถปฎิบัติได้ที่องค์กรคาดหวัง และมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการกำหนดฟังก์ชั่นของการจัดการขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการกำหนดแผนการบรรลุความสำเร็จอย่างที่องค์กรต้องการภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่

ดังนั้น การวางแผน จึงเป็นสิ่งที่สร้างแรงจูงใจให้มีการคิด รูปแบบ กระบวนการ ของภาระกิจองค์กรอย่างเป็นระบบ และสามารถปฎิบัติได้จริง  ”ไม่ใช่การคาดเดา” การวางแผนเป็นกระบวนการตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร และมีการกำหนดรูปแบบการทำงานแบบฟังก์ชั่น ที่แตกต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกั

ประโยชน์ของการวางแผน

1. การวางแผนเป็นการกำหนดหรือกรอบการดำเนินงานขององค์การเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์

2. การวางแผนมีส่วนในการลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงานมากขึ้น

3. การวางแผนช่วยให้แต่ละแผนกรู้ขอบข่ายและหน้าที่ของตนเอง

4. การวางแผนช่วยลดปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน

5. การวางแผนในการปฏิบัติงานสามารถทำให้การทำงานทำได้เร็วขึ้น คือ ประหยัดเวลาและประหยัดทรัพยากรอีกด้วย

6. การวางแผนช่วยให้เกิดกระบวนการควบคุมที่ดีและชัดเจนในแนวทางที่ทุกคนควรปฏิบัติ

7. การวางแผนการดำเนินงานที่ดีสามารถสร้างข้อได้เปรียบในด้านการแข่งขันกับคู่แข่ง

8. การวางแผนมีส่วนช่วยให้ผู้บริหารต้องมีการพัฒนากระบวนการคิด การมองการณ์ไกลตลอดเวลา เพื่อนำพาให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์การ

9. การวางแผนทำให้เกิดการระดมสมองจากผู้บริหารหลาย ๆ ฝ่าย ซึ่งจากการพูดคุยปรึกษาหารือกัน ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

10. การวางแผนคือการระดมทางความคิด ในทางอ้อมเราอาจจะได้ผู้บริหารหน้าใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล



ลักษณะของแผนที่ดี

1. แผนที่ดีต้องสามารถยืดหยุ่นและปรับได้ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

2. แผนที่ดีต้องชัดเจน ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนในองค์การ

3. ก่อนจะเป็นแผนที่ดีนั้น ข้อมูลที่นำมาใช้ในการสร้างแผนต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงและเชื่อถือได้และผ่านการวิเคราะห์และพิจารณามาเป็นอย่างดี

4. แผนที่ดีต้องสามารถนำไปปฏิบัติและเกิดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อองค์การ

5. แผนที่ดีต้องสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในขณะเดียวกันก็ต้องตั้งอยู่บนรากฐานแห่งการปฏิบัติจริงได้

ขั้นตอนในการวางแผนการทำงาน

การวางแผนการทำงานสำหรับองค์กรที่ต้องการมีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.การกำหนดวัตถุประสงค์

1.1 การวางแผนจำเป็นจะต้องมาจากการะดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาขององค์กร และมีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ (ไม่ใช่ใครเสียงดัง ใครตำแหน่งใหญ่ ก็พูดอยู่คนเดียว)


1.2 การวางแผนเริ่มต้นด้วยการตั้งค่าเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่จะประสบความสำเร็จ


1.3 การกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องมีความสอดคล้องกับเหตุและผลสำหรับการดำเนินกิจกรรม


1.4 การกำหนดวัตถุประสงค์จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องที่ปฎิบัติได้จริง เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ช้ดเจน และมีขอบเขตการปฎิบัติงานที่ชัดเจน สอดคล้องกับศักยภาพของทีมงานหลักหลักต่างๆ และสามารถบ่งบอกถึงทิศทางของเป้าหมายที่จะดำเนินการได้


1.5 การกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องมีหน่วยวัด หรือ หน่วยนับในเชิงปริมาณ เช่น มีกำไรเพิ่มขึ้น 30% ภายใน 2 ปี   มีการประกวดระดับชาติและได้รับรับรางวัลชนะเลิศ ภายใน 3 ปี  เป็นต้น


2.การกำหนดการวางแผนอย่างเป็นระบบ

2.1 การวางแผนจะต้องมีสมมติฐานเกี่ยวกับรูปแบบ และเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


2.2 ข้อมูลพื้นฐานจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์กับองค์กร และตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ ขององค์กรที่ชัดเจน


2.3 การกำหนดแผนจะต้องมีการกำหนดแนวโน้มความเบี่ยงเบนของแผนขณะที่ได้มีการดำเนินงานจริงๆ และพยามค้นหาสาเหตุของการเบี่ยงเบนเหล่านั้น ด้วยตัวชี้วัดความเสี่ยง และตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กร


2.4 การสร้างจินตภาพ (Scenario Planing) คุณและทีมงานจะต้องมีการสร้างภาพในอนาคตว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรบ้างจะแก้ปัญหาด้วยวิธีไหน และอย่างไร?


2.5 การวางแผนจะต้องมีการศึกษาปัจจัยทั้งจากภายใน และปัจจัยภายนอกที่จะมากระทบต่อวัตถุประสงค์ เช่น นโยบายการลงทุน  ความสัมพันธ์ของพันธมิตรกับองค์กร  ปรัชญาในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจภายนอก


3. การกำหนดแผนระดับองค์กร จะต้องเป็นที่ยอมรับของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


3.1 การกำหนดแผนระดับองค์กรจะต้องเป็นที่ยอมรับของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องมีความเข้าใจเป้าหมายของแผน กระบวนการปฎิบัติงาน  วิธีการเดียวกัน


3.2 การกำหนดวัตถุประสงค์ของแต่ละแผนการจะต้องมีการประเมินข้อดี และข้อเสียภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับสถานการณ์


3.3 มีการวิเคราะห์เชิงปริมาณเกี่ยวกับความสำเร็จของแผนที่ชัดเจน กำหนดล่วงหน้า ทุกหน่วยงานยอมรับในเงื่อนไขการวัดเชิงปริมาณ ที่เลือกใช้


3.4 มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนระดับองค์กรที่ชัดเจน


3.5 มีการระบุตารางเวลาการทำงาน และลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน เชื่อถือได้


3.6 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ของแผน งบประมาณในแต่ละหน่วยงาน ระยะเวลา เป้าหมายความสำเร็จ ฯลฯ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด


4. กระบวนการติดตาม/ประเมินผลของแผน


4.1  มีการกำหนดระยะเวลาที่จะติดตามวิธีการปฎิบัติ เป้าหมายที่สำเร็จ ระดับความ


4.2 มีการกำหนดเงื่อนไขที่จะใช้ประเมินผลด้านความเสี่ยง และการเบี่ยงเบนของเป้าหมาของแผนที่กำหนดไว้


4.3 มีขั้นตอนการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนและการควบคุมฟังก์ชั่นของแผนที่ชัดเจน









ขอขอบคุณ http://oknation.nationtv.tv/blog/newmanagement/2013/09/12/entry-1

การพัฒนางาน


การพัฒนางาน
  

การพัฒนางาน คือ การบวนการที่มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงวิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล



การวิเคราะห์งานมีวิธีการดังนี้

1. การวิเคราะห์งานด้วยการใช้แนวทางความเป็นเป็นไปได้ของงาน

2. การวิเคาระห์งานด้วยการวิเคราะห์กิจกรรมของงาน



3. การวิเคราะห์งานด้วยการวิเคราะห์หน่วยของงาน



การพัฒนาวิธีการทำงาน

1. ปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น

2. ปรับปรุงวิธีการใช้เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนสถานที่ ทำงาน

3. ปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้เหมาะสมขึ้น

4. ปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพง่ายต่อการผลิต และต้นทุนต่ำ


5. ปรับปรุงโดยการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ แปรรูปได้ง่ายและราคาไม่แพง



หลักการพัฒนาสถานที่ทำงาน

1. การจัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การใช้เครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

3 .การจัดรูปแบบของงาน

4. การวิเคราะห์ระบบงานและจัดสถานที่

5. การพัฒนาสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อม




การวิเคราะห์การจัดระบบงานและจัดสถานที่

1. ระบบงานที่ต้องทำบ่อยๆควรจะออกแบบวัสดุและอุปกรณ์ให้อยู่ใกล้กับคนทำงานในระบบที่เหมาะสมที่สุดและใช้งานสะดวกที่สุดเพื่อที่จะทำงานได้เร็วและไม่เมื่อยล้า

2. ระบบงานที่ทำตามหน้าที่การใช้งาน ออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

3. ระบบงานที่ต้องทำตามลำดับขั้นตอน การออกแบบต้องคำนึงถึง การหยิบใช่งานได้อย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอนการทำงานก่อนหลัง



หลักการจัดสถานที่ทำงาน

1. การจัดวางวัสดุเครื่องมือ และปุ่มควบคุม ภายในระยะที่หยิบถึงง่าย

2. การปรับปรุงท่าปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

3. การใช้แคลมป์หนีบอุปกรณ์จับยึด และอุปกรณ์อื่นเพื่อประหยัดเวลาแรงงาน

4. การปรับปรุงหน้าปัดแสดงผลและแผงควบคุมเพื่อลดการผิดพลาด



ขอบเขตของสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หากพิจารณาสิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัยบ่งได้ดังนี้

       1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงของคนเช่นแสงสว่างความสั่นสะเทือนเสียงและอากาศอุณหภูมิ

       2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ที่เกิดจากการได้รับเชื้อที่มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ พืช หรืออากรติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรียเชื้อรา รวมทั้งความชื้นหรือความแออัดคับแคบจากสถานที่ทำงาน

       3. สิ่งแวดล้อมทางเคมี เกิดจากการทำปฎิริยาทางเคมีของสสารต่างๆ เช่น แก๊ส เขม่า ควันไฟ ฝุ่นโลหะ สารเคมีอื่นๆ

       4. สิ่งแวดล้อมการจัดสภาพงาน ที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของคนงาน เช่น สภาพการทำงานที่ซ้ำซากจำเจ ความเบื่อหน่ายต่อการทำงานความกังวลและปัญหาต่างๆในหน่วยงานเป็นต้น



องค์ประกอบของสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน

 1. สุขภาพและความปลอดภัย

 2. เวลาการทำงาน ทำงานเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการสูญเสียความสนใจ ในงานความเหนื่อยหน่าย ความเมื่อยล้า

 3. สภาพภูมิอากาศ

 4. กลิ่น ฝุ่น และสารพิษ

 5. แสงสว่าง

 6. เสียงและความสั่นสะเทือน

 7. อัคคีภัยและอันตรายจากไฟฟ้า



     การพัฒนาสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน

1. จัดตั้งองค์การเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย

2. การจัดเวลาการทำงาน

3. ปกป้องโรงงานจากสภาพภูมิอากาศ

4. การกำจักหรือแยกแหล่งกำเนิดมลพิษ

5. การปรับปรุงพื้นอาคาร

6. วางผังโรงงานอย่างยืดหยุ่นและดัดแปลงได้ง่าย

7. อัคคีภัยและอันตรายจากไฟฟ้า


      การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์

      วัตถุประสงค์ของการออกแบบเพื่อพัฒนาเครื่องมือ

          1. เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ราคาต่ำมีคุณภาพและมีขนาด/รูปร่างเท่ากันทุกชิ้น

          2. เพิ่มผลผลิตการพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ

          3. พัฒนาวิธีทำงานกับเครื่องมือให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

          4. เลือกใช้วัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือเพื่อให้อายุการใช่งานเครื่องมือสูงสุด

          5. เตรียมอุปกรณ์ให้ปลอดภัยมากที่สุด



     หน้าที่ของอุปกรณ์ในการทำงาน

          1. อุปกรณ์นำเจาะ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดตำแหน่งยึดชิ้นงานและเป็นตัวนำทางของเครื่องมือตัด(Cutting tools)ในการเจระรูหรือคว้านรู

          2. อุปกรณ์จับยึดงาน ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดตำแหน่งจับยึดชิ้นงานและร่องรับชิ้นงานให้อยู่กับที่ในขณะเครื่องกำลังทำงาน

          3. อุปกรณ์ขนถ่าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ขนส่งของจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งในเวลาที่ต้องการ และอยู่ในลักษณะของคุณภาพที่ต้องการรวมทั้งการเก็บรักษาและการบรรจุหีบห่อ

การพัฒนาบุคลากรใด ๆ ก็จะไม่ยั่งยืนเลย ตราบเท่าที่คนที่เราพัฒนาเขานั้น ไม่ได้มีการสั่งสมประสบการณ์ด้วยตัวเขาเอง แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือเขาเหล่านั้นจะต้องมีความรัก ความเข้าใจ ความตั้งใจ และความจริงใจในการทำงาน
ในฐานะที่เคยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน และจากการที่ตนเองได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองจากการเข้ารับการอบรม ซึ่งจัดโดยหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และจากการที่ได้มีโอกาสถูกหน่วยงานส่งเข้ารับการอบรมยังหน่วยงานภายนอก หลายครั้งสิ่งที่ได้รับกลับมาภายหลังจากการอบรมในแต่ละครั้ง ถึงแม้จะได้ถูกนำไปถ่ายทอดต่อให้คนอื่น ๆ ในหน่วยงาน ได้ร่วมรับรู้ แต่เนื่องจากสิ่งที่เราได้รับส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ ซึ่งคนอื่น ๆ ในองค์กร ที่ไม่ได้รับผิดชอบงานในหน้าที่เดียวกับเรา ก็ได้เพียงแต่ร่วมรับฟัง และร่วมรับรู้ ร่วมกัน ว่าเราได้รับรู้อะไรกลับมาเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำเอาสิ่งเหล่านั้น กลับไปพัฒนาในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้องานของเขาได้เลย
จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งทางหน่วยงานที่ตัวเองอยู่ ได้มีการกำหนดคำขวัญไว้ว่า “พัฒนาตน พัฒนางาน องค์การก้าวหน้า” ในฐานะที่ยังรับผิดชอบงานด้านพัฒนาบุคลากรอยู่ ก็อดไม่ได้ที่จะสงสัยว่า เราจะต้องจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรเน้นในรูปแบบใด ถึงจะทำให้คนในองค์กร ได้มีการพัฒนาตน และส่งผลให้เกิดการพัฒนางาน และเมื่อได้มีการพัฒนางานแล้ว แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อการทำให้องค์กรก้าวหน้า สามคำนี้ เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
จวบจนผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านบทความเรื่อง “การพัฒนาตน สู่พลังขององค์กร” ซึ่งเขียนโดย อาจารย์ดารา พงษ์สมบูรณ์  อาจารย์ประจำสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อผู้เขียนได้อ่านบทความดังกล่าวนี้แล้ว ทำให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของคำขวัญดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเข้าใจแนวคิดของผู้บริหารที่มุ่งอยากให้เห็นการพัฒนาบุคลากรอย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงขอถือโอกาส นำเอาบทความดังกล่าว ถ่ายทอดให้ทุกท่านได้รับรู้ หวังว่า คงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย

ขอขอบคุณ http://lms.rmutsb.ac.th/elearning/claroline/backends/download.php?url=LzZfZGV2ZWxvcF93b3JrLnBkZg%3D%3D&cidReq=1901201

การจัดการงานอาชีพ

การจัดการงานอาชีพ           การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจั...