วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความหมายขององค์การ

           

                  
                         องค์การ

ความหมาย
องค์การ คือ หน่วยสังคมที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มบุคคล โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เดียวกัน มีการจัดการอย่าง
เป็นระบบ ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้
 
ลักษณะองค์การ
นักวิชาการได้ศึกษาวิเคราะห์องค์การในแง่มุมต่าง ๆ กันในหลายลักษณะสรุป ได้ดังนี้
1.องค์การเป็นโครางสร้างของความสัมพันธ์  (Organization as a Structure of Relationship) แนวคิดนี้มององค์กร ในลักษณะหน่วยงานย่อยต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์กัน มีการกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานย่อย
2.องค์การเป็นกลุ่มของบุคคล (Organization as a Group of People) แนวคิดนี้มององค์การว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มี เป้าหมายร่วมกัน บุคคลจะแสวงหาความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆเสมอทำงานร่วมกับบุคคลอื่นก็เพื่อสนองความต้องการของตน
3.องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ (Organization as a Function of Management) แนวคิดนี้มององค์การเป็น หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารที่จะต้องทำการ จัดการเพื่อน าปัจจัยต่าง ๆขององค์การมาใช้ คือ คน เงิน วัสดุ และอุปกรณ์ ต่าง ๆ 
4.องค์การเป็นกระบวนการ (Organization as a Process) แนวคิดนี้มององค์การเป็นกระบวนการจัดกลุ่มงานที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกันมารวมกันไว้ มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดและร่วมมือกันทำงาน 
5.องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่ง (Organization as a System) แนว คิดนี้มององค์การเป็นระบบเปิดประกอบด้วยระบบ ย่อย ๆโดยมีปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process)  ผลผลิต (output) ข้อมูลย้อนกลับ (feed-back) และสิ่งแวดล้อม (environment)

องค์ประกอบขององค์การ มีดังนี้
1. กลุ่มบุคคล 
2.  มีเป้าหมายร่วมกัน
3.  การกำหนดหน้าที่ 
4.  การแบ่งงานความสัมพันธ์ระหว่างกัน
          

โครงสร้างองค์การ (Organization  Structure)  หมายถึง  ระบบการติดต่อสื่อสาร และอำนาจบังคับบัญชาที่เชื่อมต่อ คน และกลุ่มคนเข้าด้วยกัน  เพื่อทำงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายขององค์การ

โครงสร้างขององค์การประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1.วัตถุประสงค์ (Objective)  
2.ภาระหน้าที่ (Function)  
3.การแบ่งงานกันทำ (Division of Work)
2.แบ่งตามการจัดระเบียบภายในองค์การ (Formal Organization) เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในกลุ่มองค์กร แบบเป็น ทางการหรืออาจเกิดขึ้นในสังคมใดก็ได้
 3.แบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของ  แบ่งได้  2  ประเภท
3.1องค์การรัฐกิจ
3.2องค์การธุรกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของ
 
การจัดโครงสร้างขององค์การ
1.โครงสร้างองค์การแบบหน่วยงานหลัก  (Line  Organization  Structure)
2.โครงสร้างองค์การแบบหน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา (Line  and  Staff  Organization  Structure)
3.โครงสร้างองค์การแบบหน้าที่การวางเฉพาะ  (Function  of  Organization  Structure)
4.โครงสร้างขององค์การแบบคณะกรรมการ (Committee  Organization  Structure)
5.โครงสร้างองค์การแบบโครงการ (Project  Organization  Structure)
6.โครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์ (Matrix  Organization  Structure)  

แนวโน้มโครงสร้างองค์การสมัยใหม่
          1.สายการบังคับบัญชาสั้นลง (Shorter Chan of Command)  
2.ขนาดการควบคุมกว้างขึ้น (Wider Span of Control)    
3.ความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชาน้อยลง (Less Unity  of  Command) 
4.การมอบหมายงานและการให้คนมีอำนาจมากขึ้น (More delegation and empowerment) 
5.การกระจายอำนาจอย่างรวมอำนาจ (Decentralization  with  Centralization
6.โครงสร้างขนาดเล็กอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่  (Smallness  with  Bigness)  
7.ลดจำนวนที่ปรึกษาให้เหลือน้อยลง (Reduce  Staff  Component)  

หลักการจัดองค์การ การจัดองค์การหมายถึง กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงานของบุคลากร ความสัมพันธ์ระหว่างงาน
ประเภทต่างๆ สายงานการบังคับบัญชา อย่างชัดเจนที่ผู้บริหารและผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กำหนด เพื่อใช้เป็นกรอบ และ ทิศทางให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การดำเนินได้อย่างชัดเจน มีระเบียบและมีแบบแผน หลักการจัดองค์การโดยทั่วไปประกอบด้วย
1.นโยบายที่ชัดเจน
2.มีการแบ่งงาน
3.กำหนดลักษณะของงานให้ชัด
4.มีสายการบังคับบัญชา
5.มีเอกภาพในการบังคับบัญชา หรือมีผู้บังคับบัญชาเพียงคน
6.ช่วงของการควบคุม
7.การประสานงาน
8.การยืดหยุ่น

ความมีประสิทธิภาพและความเจริญเติบโตขององค์การโดยการสอดแทรกสิ่ง ที่ได้มีการวางแผนไว้แล้วเข้าไปในกระบวนการของ องค์การด้วยการใช้ความรู้ทาง ด้านพฤติกรรมศาสตร์
  
              ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การควรด าเนินการเป็น 3 ขั้นตอนคือ  
    1.การวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ
    2. การสอดแทรกวิธีการใหม่ๆเข้าไปเพื่อพัฒนาองค์การ
    3.การบ รุงรักษาวิธีการใหม่ๆนั้นให้คงอยู่ตลอดไป

หลักการพัฒนาองค์การ
    1.การพัฒนาทางด้านโครงสร้าง   
    2.การพัฒนาทางด้านกระบวนการ  
วิธีการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การมีวิธีการหลายแบบที่นำมาใช้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำวิธีการฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการมาใช้เป็นที่
นิยมแพร่หลายมานานได้แก่  
    1.การฝึกอบรมแบบการฝึกการปะทะสังสรรค์   
    2.การประชุมปรึกษาหารือ  
    3.การสร้างทีมงาน   
    4.การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ  
ลักษณะขององค์การ
1. เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
       1. กำหนดงานให้ชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำ สมาชิกในองค์การจะได้รับมอบหมายงานให้ทำงานตามความรู้ ความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล
       2. มีสายบังคับบัญชาเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงมา มีสายการบังคับบัญชาเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ระดับ
ระดับสูงสุดลงมาถึงระดับล่างสุดขององค์การ
       3. มีวัตถุประสงค์ องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน เพื่อสมาชิกขององค์การจะได้ยึดถือเป็นแนวทางในการทำงาน
2. เป็นกลุ่มบุคคล
         กลุ่มบุคคล เกิดจากการรวมกลุ่มที่ถาวรเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันขนาดของกลุ่มเท่าใดขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการที่ทำ
3. เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ
          เนื่องจากองค์การจะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ในการจัดการ เช่น เงิน วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงคนด้วย ดังนั้น เพื่อให้มีการใช้ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีความชัดเจนในการจัดองค์การ
4. เป็นกระบวนการ
        เนื่องจากองค์การมีงานหรือกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง
5. เป็นระบบ
        ระบบเป็นการรวมสิ่งต่างๆ ในองค์การที่มีลักษณะซํบซ้อนให้เข้าลำดับประสานกันเป็นอันเดียว ประกอบด้วย 3 ระบบใหญ่ๆ คือ ทรัพยากรที่ใช้ (Resource Input) กระบวนการแปรรูป (Tranformation Process) และผลผลิต (Product Output)

ประเภทขององค์การ
1. ยึดตามวัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
        1. เพื่อประโยชน์ของสมาชิก ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของสมาชิกโดยตรง เช่น พรรคการเมือง สหกรณ์สโมสร สมาคบวิชาชีพ (ครู แพทย์ พยาบาล) เป็นต้น
         2. เพื่อองค์การธุรกิจ ตั้งขึ้นเพื่อกำไร เช่น ห้างร้าน บริษัท ธนาคาร งานอุสาหกรรม เป็นต้น
         3. เพื่อบริการ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์แก่สาธารณทั่งไป เช่น โรงบาล โรงเรียน สมาคบสงเคราะห์ เป็นต้น
         4. เพื่อสวัสดิภาพของประชาชน เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เช่น กระทรวง ทบวง กรม กอง เป็นต้น
2. ยึดโครงสร้างเป็นเกณฑ์ ในการแบ่ง มี 2 ประเภท คือ
         1. แบบเป็นทางการ (Formal Organization) หรือเรียกว่าองค์การรูปใน เพราะว่ามีโครงสร้างอย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนแน่นอน มีกฎหมายรองรับ เช่น บริษัท มูลนิธิ หน่วยราชการ กรม โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น
         2. แบบไม่เป็นทางการ (lnformal Organization) หรือเรียกว่า องค์การรูปนัย เนื่องจากองค์การแบบนี้ตั้งขึ้นด้วยความพึงใจ และมีความสัมพันธ์ส่วนตัว ไม่มีการจักโครงการภายใน มีการรวมกันอย่างง่าย ๆ และเลิกล้มได้ง่าย เช่น ครบครัว ศาสนา เป็นต้น
3. ยึดการกำหนดเป็นเกณฑ์ มี 2 ประเภท ดั้งนี้คือ
          1. องค์การขั้นปฐมภูมิ (Primary Organization) หมายถึง องค์การที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติสมาชิกทุกคนต้องเกี่ยวข้องกันมาแต่กำเนิด มีกิจกรรมรวมเฉพาะกลุ่มติดต่อด้วยการส่วนตัว เช่น ครบครัว ศาสนา หมู่บ้าน เป็นต้น

         2. องค์การขั้นทุติยภูมิ (Secondary Organization) หมายถึง องค์การที่มนุษย์ตั้งขั้น สมาชิกมีความสัมพันธ์กันด้วนเหตุผล และความรู้สึกสำนึกอย่างเป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การไม่เป็นแบบส่วนตัว เช่น หน่วยงานราชการ ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม โรงเรียน สโมสร โรงพยาบาล เป็นต้น


ประโยชน์ของการจัดองค์การ

องค์การ เป็นที่รวมของคนและงานต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานขององค์การปฏิบัติติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ จึงจำเป็นต้องจัดแบ่งหน้าที่การงานกันทำและมอบอำนาจให้รับผิดชอบตามความสามารถและความถนัด ถ้าเป็นองค์การขนาดใหญ่และมีคนมากตลอดจนงานที่ทำมีมาก ก็จะต้องจัดหมวดหมู่ของงานที่ทำเป็นอย่างเดี่ยวกันหรือมีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า ฝ่ายหรือแผนงาน แล้วจัดให้คนที่มีความสามารถในงานนั้น ๆ มาปฏิบัติติงานรวมกันในแผนกนั้นและตั้งหัวหน้างานขึ้นรับผิดชอบครบคุม ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดองค์การมีความจำเป็นและก่อประโยชน์หลายด้าน ดังนี้

    1. ประโยชน์ต่อองค์การ
1. การจัดโครงสร้างขององค์การที่ดีและเหมาะสม จะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ
2. ทำให้งานไม่ซ้ำซ้อน ไม่มีแผนมากเกินไป เป็นการประหยัดต้นทุนไปด้วย
3. องค์การสามารถปรับตัวเขากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ง่ายตามความจำเป็น
    2. ประโยชน์ต่อผู้บริการ
1. ทำให้รู้อำนาจหน้าที่และขอบข่ายการทำงานของตนว่ามีเพียงใด
2. แก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนได้ง่าย
3.หากมีงานคั่งค้าง จุดใด สามารถติดตามแก้ไขได้ง่าย
4. การมอบอำนาจทำได้ง่าย ขจัดปัญหาการเกี่ยวกันทำงานหรือปัดความรับผิดชอบ
   3. ประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติติงาน
          1. ทำให้รู้หน้าที่และขอบข่ายการทำงานของตนว่ามีเพียงใด
          2. การแบ่งงานให้พนักงานอย่างเหมาะสม ช่วยให้พนักงานมีความพอใจ ไม่เกิดความรู้สึกว่างานไม่มากไปหรือน้อยไป
          3. เมื่อพนักงานรู้อำนาจหน้าที่และขอบเขตงานของตน ย่อมก่อให้เกิดความคิดริเริ่มในการทำงาน
          4. พนักงานเข้าใจความสัมพันธ์ของตนต่อฝ่ายอื่น ๆ ทำให้สามารถติดต่อกันได้ดียิ่งขึ้น

สรุปสาระสำคัญ

        ความหมายขององค์การ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้งานดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยมีระบบของการประสานงานอย่างเหมาะสม
        ลักษณะขององค์การ
1. เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์
2. เป็นกลุ่มบุคคล
3. เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ
4. เป็นกระบวนการ
5. เป็นระบบเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กับการประกอบอาชีพทั่วโลก หลักการมาตรฐานอาชีพแห่งชาติ
        เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ความสามารถ ทัศนคติโดยมี หลักการที่สำคัญดังนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
2. การปฏิบัติงานคำนึงถึง ความปลอดภัยในทุกด้าน เช่น ด้านสถานที่ ด้านสภาวะแวดล้อม และตัวบุคคล เลือกใช้และบำรุงรักษา เครื่องมือ อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
3. เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง
4. ปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนถูกต้องเหมาะสม
5. เลือกใช้วัสดุถูกต้อง ประหยัด
6. ใช้เวลาปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม
7. ผลงานได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


















การจัดการงานอาชีพ

การจัดการงานอาชีพ           การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจั...