วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การเพิ่มผลผลิต







ความหมายของการเพิ่มผลผลิต
            การเพิ่มผลผลิตมี 2 แนวความคิด คือ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม
1.1 แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
         ตามแนวคิดนี้ ความหมายโดยสรุปคิด “การเพิ่มผลผลิตเป็นสิ่งที่วัดค่าได้ และมองเห็นเป็นรูปธรรม”นั่นคือ ตามแนวความคิดนี้ การเพิ่มผลผลิตสามารถวัดค่าได้ทั้งทางกายภาพ คือวัดเป็นจำนวนชิ้นน้ำหนัก ความยาว ฯลฯ และอีกทางคือ การวัดเป็นมูลค่า ซึ่งวัดในรูปที่แปลงเป็นตัวเงิน สามารถทำให้หน่วยงานหรือองค์กรมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนว่า การประกอบธุรกิจนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่
การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คือ
ผลผลิต (Output) ที่นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณนี้ต้องเป็นผลิตผลที่ขายได้จริงไม่นับรวมผลิตผลที่เป็นของเสียที่ตลาดไม่ต้องการ และต้องไม่เป็นผลิตผลค้างสต๊อกที่เก็บไว้ในโกดังสินค้า เพราะไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อโรงงานค่าที่ได้จาการคำนวณจากอัตราส่วนขิงผลิตผลและปัจจัยการผลิตนี้จะไปวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าการเพิ่มผลผลิตของโรงงานตามที่กำหนด และใช้เปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นการคำนวณหาค่าการเพิ่มผลผลิตนี่เรียกว่า การวัดการเพิ่มผลผลิต ซึ่งแนวทางการเพิ่มผลผลิตมีดังนี้
           แนวทางที่ 1 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม คือ Output เพิ่มขึ้น Input เท่าเดิม แนวทางนี้นำไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตในสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในสภาพปกติ คือเมื่อพนักงานมีเท่าเดิมต้องการให้ผลิตผลมากขึ้น ก็หาวิธีการปรับปรุงงานด้วยการนำเทคนิค วิธีการปรุงปรับการเพิ่มผลผลิตเข้ามาช่วย เช่น ปรับปรุงวิธีการทำงาน ฝึกอบรมทักษะในเรื่องการทำงานให้มีทักษะคุณภาพ กิจกรรม 5 ส กิจกรรม QCC ฯลฯ จะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มีค่าสูงขึ้น โดยไม่เพิ่มปัจจัยการผลิต         
          แนวทางที่ 2 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตลดน้อยลงคือ Output เพิ่มขึ้น Input ลดลง แนวทางนี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้การเพิ่มผลผลิตมีค่าสูงสุดมากกว่าวิธีอื่น ๆ เป็นแนวทางที่นำเอาแนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 4 เข้าด้วยกัน ผู้ปฏิบัติต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับปรุงกระบวนการผลิตวิธีการทำงานทั้งหมด จนไม่มีการสูญเสียในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง ใช้คนงานสุ่มเช็คความเรียบร้อยของสินค้าก่อนบรรจุลงในกล่องหากพบสินค้ามีรอยตำหนิไม่เป็นมาตรฐานก็จะแยกส่งออกไปแก้ไขใหม่ใช้พนักงาน 6 คน ในจำนวนพนักงานทั้งหมด12 คน ในสายตาการผลิต จะเห็นว่าเวลาส่วนใหญ่ของพนักงานทั้ง6 ที่ยืนสังเกตแยกสินค้าออกนี้ ถูกนำไปใช้งานที่ไม่เกิดประโยชน์ ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นต้องปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ในการหาวิธีตรวจสองสินค้าที่มีรอยตำหนิโยกย้ายพนักงานออกไปทำหน้าที่อื่นที่ได้ประโยชน์ในการทำงานมากกว่าจะทำให้โรงงานได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และลดปัจจัยการผลิตน้อยลงแนวทางนี้จะเป็นวิธี “การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพด้วยต้นทุนต่ำ” ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรอย่างคุ้มค่า หรือมีประสิทธิภาวะสูงสุด โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตจากพนักงานให้สูงขึ้นและให้ลดความสูญเสียที่เกิดจาก “จุดรั่วไหล” ต่าง ๆ ให้มากที่สุด ประหยัดได้ต้องประหยัด ลดกันทุกจุกที่ทำได้ก็เท่ากับลดต้นทุน
          แนวทางที่ 3 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น (ในอัตราที่น้อยกว่าการเพิ่มของผลิตผล) คือ Output เพิ่มขึ้น แต่ Input เพิ่มน้อยกว่า แนวทางนี้นำไปใช้ในสภาวะเศรษฐกิจกำลังเติบโตต้องการขยายกิจการและขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น มีทุนพอที่จะจัดซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มขึ้น จ้างแรงงานเพิ่มใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการผลิต ลงทุนในด้านปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้วอัตราส่วนของผลผลิตที่เพิ่มจะมากกว่าการเพิ่มของปัจจัยการผลิต
          แนวทางที่ 4 ทำให้ผลิตผลเท่าเดิม แต่ปัจจัยการผลิตลดลง คือ
Output คงที่ แต่ Input ลดลง
แนวทางนี้ไม่เพิ่มยอดการผลิต นั่นคือ การใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะที่จะใช้กับช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความต้องการของตลาดมีไม่มากนัก เช่น การ
ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ขจัดเวลาที่สูญเสียต่าง ๆ การประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่ให้ใช้อย่างจำกัดและจำเป็นลดความฟุ่มเฟือยต่าง ไหลหาจุดไหลในการผลิตและลดจุดรั่วนั้น ๆ
       แนวทางที่ 5 ทำให้ผลิตผลลดลงจากเดิมแต่ปัจจัยการผลิตลดลงมากกว่า (ในอัตราลดลงมากกว่าลดผลิตผล) คือ Output ลดลง Input ลดลงมากกว่าแนวทางนี้ใช้ในภาวะที่ความต้องการของสินค้าหรือบริการในตลาดน้อยลง เพื่อใช้เพิ่มค่าของการเพิ่มผลผลิตเช่นสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย คนไม่มีกำลังซื้อ สินค้าฟุ่มเฟือยไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น รถยนต์ น้ำหอมฯลฯ ขายไม่ได้มาก บริษัทที่ผลิตต้องลดปริมาณการผลิตลง และพยายามลดปัจจัยการผลิตให้มากกว่าด้วย เพื่อให้การเพิ่มผลผลิตค่าสูงขึ้น
แนวทางการเพิ่มผลผลิตทั้ง 5 แนวทางที่กล่าวมาจะไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่า แนวทางใดจะเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างไรได้ทั้งหมดเพราะต้องพิจารณาทั้งผลิตผลและปัจจัยการผลิตร่วมเพื่อแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ แต่โดยหลักการพื้นฐานแล้วสามารถพิจารณาได้ ดังนี้
     แนวทางการเพิ่มผลผลิต

- หากต้องเพิ่มผลผลิตหรือ Output
สูงนั้น เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจที่ตลาดขยายตัว ผู้บริโภคกำลังซื้อสูงสินค้ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาด
 - หากลดผลิตผลลง หรือ Output ลดลง เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซบเซา ตลาดหดตัวสินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาดขณะนั้น



 - หากเพิ่มปัจจัยการผลิต หมายถึง ต้องการลงทุนเพิ่มในช่วงเศรษฐกิจเติบโต ต้องมั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วเป็นที่ต้องการของตลาด
- หากลดปัจจัยการผลิต หมายถึงลดปัจจัยการผลิตได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจเพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
  จากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ข้างต้นความหมายของการเพิ่มผลผลิตมิได้หมายถึงการเพิ่มปริมาณการสภาวะหนึ่งที่ต้องทำให้อัตราเพิ่มผลผลิตสูงตลอดเวลาซึ่งทำได้โดยสำรวจสภาวะ
เศรษฐกิจขณะนั้น รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดที่มีต่อสินค้าหรือบริการแล้วเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งเพื่อการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น

   
การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม

       1. ความสำนึกในจิตใจ เป็นความสามารถหรือการมีพลังด้านความสามารถที่มนุษย์แสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นเสมอโดยเชื่อว่าสามารถทำสิ่งต่างๆในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ โดยผู้มีจิตสำนึกด้านการเพิงผลผลิตจะประยุกต์ใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานสังคมและประเทศชาติและทันต่อสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

     2.การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดการเพิ่มผลผลิตเป็นความสำนึกในการดำเนินกิจกรรมในตลอดวิถีชีวิต ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์พร้อมทั้งพยายามลดการสูญเสียทุกประเภทเพื่อความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติความสำนึกดังกล่าวได้แก่การช่วยกันประหยัดพลังงานต่าง ๆ และค่าใช้จ่าย การมีจิตสำนึกในการเคารพกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของสังคม การนิสัยตรงต่อเวลา การลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ฯลฯ

ความหมายของการเพิ่มผลผลิต

การเพิ่มผลผลิต (Productivity) หมายถึง อัตราส่วนผลผลิตที่ได้ (Output) กับปัจจัยนำเข้า (Input) ซึ่งเกิดจากประสิทธิภาพและผลจากการทำงานของแต่ละบุคคลและองค์การ
การเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจและสังคม หมายถึง ความคิดที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีความเชื่อว่าเราสามารถทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้เป็นความสำนึกทางจิตใจในเรื่องของการประหยัดทรัพยากร พลังงาน เงินตรา เพื่อความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

การเพิ่มผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตหรือนำเข้าที่เราใช้ เช่น แรงงาน วัตถุดิบ พลังงงาน เครื่องจักรและอื่น ๆ กับผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต เช่นตู้เย็น รถยนต์ โทรทัศน์ ธนาคาร การขนส่ง และอื่น ๆ แนวคิดนี้จะต้องมีการเพิ่มผลผลิต ซึ่งทำได้ทั้งการวัดขนาดผลงานเป็นชิ้น น้ำหนัก เวลา และการวัดเป็นตัวเงิน

แนวทางการเพิ่มผลผลิตตามแนววิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 4แนวทาง คือ

1.การเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม

2.การเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปัจจัยการผลิตลดลง

3.การรักษาผลผลิตเท่าเดิมแต่ลดปัจจัยการผลิตลง

4.การเพิ่มผลผลิตและเพิ่มปัจจัยการผลิตในอัตราส่วนที่ปัจจัยการผลิตต่ำกว่าการเพิ่มผลผลิต

เหตุผลในการเพิ่มผลผลิตได้แก่

1.ทรัพยากรที่จำกัด การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและนับวันจะน้อยละให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสูบเสียน้อยที่สุด

2.การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องช่วยในการวางแผนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เช่น การกำหนดผลผลิตในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการเพื่อไม่ให้เกิดส่วนเกิน ซึ่งถือเป็นความสูญเปล่าของทรัพยากร

3.การแข่งขัน บริษัทต่าง ๆ จะอยู่รอดได้ต้องมีการปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ และการเพิ่มผลผลิตก็เป็นแนวทางในทางปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ซึ่งทำให้เราสู้กับคู่แข่งขันได้

4.กำไร การเพิ่มผลผลิตเป็นการลดต้นทุน เพิ่มผลกำไรเพื่อจะนำไปแบ่งปันแก่ทุกคนทั้งเจ้าของกิจการ พนักงานและผู้ถือหุ้น

การใช้ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน เดียวกันสำหรับผลิตภัณฑ์เป็นเทคนิคการเพิ่มผลผลิตที่สำคัญ เพราะช่วยลดต้นทุนในการผลิตและพัสดุคตงคลังไปได้มาก การใช้ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน หมายถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดบใช้ชิ้นส่วนเดียวกันเท่าทีจะเป็นไปได้ ประโยชน์ที่ได้รับจากความพยายามนี้คือ อุปกรณ์ในการผลิตทำได้ง่ายขึ้นและราคาถูกลง ควบคุมพัสดุคงคลังของชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น ร้านค้าปลึกสามารถจัดอะไหล่ผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์ก็จะถูกลงด้วย

ลักษณะการวัดหรือตัววัดที่ดีควรเป็นไปตามหลักการของ SMART คือ

1.เฉพาะเจาะจง (Specific) การวัดควรชี้ชัดว่าเป็นการวัดอะไร

2.สามารถวัดได้ผล (Measurable) เมื่อสามารถวัดได้ผล ทำให้องค์การติดตามผลงานได้ (Follow Up) ได้และเกิดความโปร่งใสขึ้น

3.สามารถทำให้บรรลุผลได้ (Achievable) เพราะจะกระตุ้นให้ทุกคน ทุกฝ่ายเกิดกำลังใจในการทำงาน

4.ตรงประเด็น (Relevant) หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่สนใจอยู่

5.มีกำหนดเวลาที่แน่นอน (Time Bound)

ระบบทันเวลาพอดี   เป็นระบบบริหารงานผลิตซึ่งประกอบด้วย

1.การขจัดความสูญเปล่าในด้านต่าง ๆ เช่นปริมาณการผลิตเกินความต้องการ การรอคอยการขนส่ง ความซับซ้อนในกระบวนการผลิต การจัดการวัสดุ การทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตที่บกพร่อง

2.การควบคุมกระแสวัสดุเพื่อลดเวลาในการนำจากจุดสั่งซื้อจนถึงจุดที่วัสดุไปถึงสายการผลิต

3.การเปิดโปงและกำจัดที่ต้นตอปัญหาแทนที่จะไปจัดที่ปลายทาง

ประเภทของการเพิ่มผลผลิต แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ

1.เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นงาน มีเทคนิคหลัก 2 อย่าง คือ

1.1การศึกษาวิธีทำงาน หรือวิศวกรรมวิธีการ

1.2 การยศาสตร์หรือวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์

2.เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นเทคโนโลยี

3.เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นพนักงาน

4.เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นผลิตภัณฑ์


5.เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นวัสดุ




วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การบริหารงานในองค์กร

การบริหารงานในองค์กร

   การบริหารงาน 
        คือ การดำเนินงานเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาสัยทรัพยากรหรือปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อบริหาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสุงสุดการบริหารและการพัฒนาองค์การถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการดำเนินงานให้เป็นผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ  แต่ จะเป็นผู้ใช้ศิลปะในการทำให้ผู้ปฏิบัติ ทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายตามที่ผู้บริหารตั้งใจ ผู้บริหารยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่หลากหลาย ท้าทาย และเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก จะต้องทำงานโดยมุ่งเน้นแก้ปัญหาที่ซับซ้อนตลอดเวลา ต้องเผชิญกับการแข่งขัน ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ นับวันงานบริหารจะยิ่งยุ่งยากมากขึ้น อัน เนื่องมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ภาวะวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ลักษณะงานบริหารจึงไม่แน่นอน เสี่ยงกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและความหลากหลายต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเกิดภาวะที่ท้าทาย  เหล่านี้ ผู้บริหารก็ควรแสวงหาโอกาสและสร้างความได้เปรียบให้เกิดแก่องค์การ (เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส) โดยการมุ่งเน้นพัฒนาองค์การในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ โดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลแต่ให้พิจารณาที่ผลงานเป็นหลัก

   


   ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การการ
 พัฒนาองค์การจะมีลักษณะต่างๆ หลายประการ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงและทีมที่ปรึกษาจะต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมขององค์การ (Organization Cultural), ค่านิยม (Value) และ ทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องกระทำเป็นระบบ เช่น ระบบโครงสร้างใหม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง มีการสอดแทรกข้อคิด (Intervention) เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาจะต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงสุดและ คณะกรรมการบริหารจะต้องให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อวัดประสิทธิภาพที่ได้จากการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจะต้องใช้เทคนิค และเทคโนโลยีใหม่ๆ  เพื่อพัฒนาความสามารถของบุคคล และมุ่งขจัดความขัดแย้งในองค์การ 



การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบควร มีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบโดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง  อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ  การ บริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน  มี ความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน ลักษณะเช่นนี้พัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านมากเห็นแก่ญาติพวกพ้องครอบครัว  ผู้บริหารสูญเสียอำนาจมีความเกรงอก เกรงใจ ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายได้ สาเหตุที่องค์การจะต้องมีการพัฒนาเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีกฎระเบียบน้อยลง  และ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขจัดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สนับสนุนให้ทำงานร่วมกันระหว่างแผนกเพื่อเป้าหมายขององค์การที่สูงขึ้น นอก จากนั้นยังเกิดจากแรงผลักดันภายในและแรงผลักดันภายนอกที่ทำให้องค์การต้อง พัฒนา แรงผลักภายในหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ ค่านิยม วัฒนธรรม ความอึดอัดในการทำงาน ความขัดแย้งในกฎระเบียบ อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง  ส่วนแรงผลักดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงกำลังคน การ ขาดแคลนแรงงาน การหันมาใช้เครื่องจักร การไม่สามารถบริการลูกค้าได้ การเปลี่ยนผู้บริหาร และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนาองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดขององค์การ เช่น แรงงานคน  โครงสร้างและระบบงาน  งานและปัญหา เทคโนโลยี โดยมี       สิ่ง แวดล้อมเป็นตัวประกอบ เช่น สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีแรงผลักดันภายนอกและภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างเดิมให้ เป็นโครงสร้างใหม่
ความจำเป็นในการพัฒนาองค์การ การบริหารงานเพื่อการปรับเปลี่ยนองค์การจะต้องคำนึงถึงความเป็นจริง โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของคน การบริหารงานระบบนี้  จึง ไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคน เพราะสายการบังคับบัญชากำหนดไว้แน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใคร การแบ่งงานจะแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง  การบรรจุ  เลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่ง  ขึ้น อยู่กับความสามารถ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเพื่องานของ ตนมากกว่าเพื่องานส่วนรวม
Worren G Bennis   ชี้ ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีการผลิต และการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ขนาดขององค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมาก ขึ้น ระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมาไม่สามารถทำให้ทุกหน่วยขององค์การเจริญเติบโตได้ เนื่องจากมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อนเสียจนไม่อาจให้บความซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เช่นกัน จำเป็นต้องฝึกฝนให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการประสานกิจกรรมภายใน องค์การให้มากขึ้น ใน แง่ของค่านิยมของคนเราจะพบว่า คนมีอิทธิพลต่อระบบการทำงานขององค์การและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารงาน ของผู้บังคับบัญชาอย่างมาก เช่น คนในปัจจุบันมีแนวความคิดใหม่ๆ สภาพแวดล้อมเป็นแรงจูงใจทำให้มีความคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนองทางจิตใจ เพิ่มมากขึ้น แนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจควรอยู่บนรากฐานของเหตุผล โดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจมากกว่าการกดขี่ ข่มเหง ทำให้เกิดความไม่กล้าและความเกรงใจ แนวความคิดเกี่ยวกับค่านิยมจะเปลี่ยนจากการมองคนเป็นเครื่องจักรให้กลายเป็น ทำอย่างไรจึงจะทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข .การ พัฒนาองค์การมิได้หมายถึงการพัฒนาแต่เฉพาะองค์การที่มีปัญหาเท่านั้น หากแต่องค์การที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่แล้วก็ควรได้รับพัฒนาให้เจริญยิ่ง ขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนมีความเจริญและมีการพัฒนาที่ดีแล้วจึง หยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลังตลอดเวลา  ผู้บริหารจึงควรมีการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาศัยหลักการดังนี้
1. กำหนดเป้าหมาย(Goal Sating) ควรมีการประชุม อภิปราย เพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา
2. ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน  เพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
3. การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ(Improving Relations) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การถือเป็นผลพลอยได้ขององค์การ แต่ไม่ว่าคนในองค์การจะมีสัมพันธภาพ ที่ดีต่อกันหรือไม่ก็ตาม ควรได้รับการเปิดเผย เพื่อให้ต่างฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา เมื่อรู้ถึงปัญหาทุกคนจะพยายามปรับตัวเข้าหากันและตั้งใจทำงานมากขึ้น
4. ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมใน การดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหา ระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงานนั้นๆ5.(Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่(Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด 888
 Picture
การเลือกขนาดขององค์การ (Choosing the span) ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการ  จะ ต้องศึกษาและพิจารณาถึงโครงสร้างขององค์การของตนเองว่ามีความซับซ้อนมากน้อย เพียงใด หรือมีสายการบังคับบัญชากี่ระดับชั้นซึ่งจะเป็นอุปสรรค์ต่อการรายงาน (Reporting) การปฏิบัติงาน (Operation) การสั่งการ (Directing) การควบคุม (Controlling) หรือไม่  จำนวนชั้นเท่าไรจึงจะเหมาะสมเป็นที่คาดการณ์ได้ยาก Lyndall Urwick  พบว่าสายการบังคับบัญชาที่มีขั้นตอนหรือระดับย่อยในการบังคับบัญชาที่ดีที่สุด คือ 4  ชั้น ส่วนระดับต่ำสุดขององค์การ  ถูกมอบหมายให้รับผิดชอบต่อการทำหน้าที่เฉพาะหรือดูแลไม่ควรเกิน 8หรือ 12ชั้น
ปัญหาของระดับชั้นขององค์การ(Problem with organization levels) มีแนวโน้มว่าการพิจารณาองค์การ  ต้อง วิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละแผนกจากบนสุดถึงล่างสุด โดยวิธีการแบ่งกิจกรรมกันทำลดหลั่นลงมา โดยส่วนบนจะทำหน้าที่ในเรื่องของการวางแผนและการวิเคราะห์ ส่วนล่างจะทำหน้าที่ในการปฏิบัติการ ถ้าสายการบังคับบัญชามีมากจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา  เป็น สิ่งไม่พึงประสงค์ขององค์การ เช่น มีการใช้จำนวนบุคคลมากเกินไป ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างงานและยังต้องซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย เช่น เครื่องอำนวยความสะดวกในสำนักงาน ทำให้ต้นทุนดำเนินงานสูงขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้การติดต่อสื่อสารไม่สะดวกเนื่องจากมีความซับซ้อน การสื่อความหมายอาจผิดพลาดไปจากที่ต้องการ การควบคุมดูแลไม่ทั่วถึงทำให้แผนงานที่วางไว้ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ถ้าองค์การมีการจัดระดับองค์การที่สั้นเข้า การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับพนักงานทำได้โดยตรง โอกาสสื่อความผิดพลาดก็จะมีน้อย การควบคุมให้พนักงานปฏิบัติตามแผนก็ง่าย  ปัจจุบันองค์การส่วนใหญ่มักจะมีการ reengineering ภายในองค์การเพื่อให้เกิดความทันสมัย กระชับรวดเร็ว สามารถที่ปรับตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทัน การที่จะบอกว่าองค์การขนาดใดควรมีกี่ระดับชั้นการบังคับบัญชานั้นเป็นคำตอบที่ยากทั้ง นี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกระทบกับปัจจัยมูลฐาน เช่น ความสามารถในการเรียนรู้ การเข้ากับคนอื่น การสั่งการ ความซื่อสัตย์   และการยอมรับนับถือ สิ่งที่สำคัญที่สุดขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารจะจัดสรรเวลาอย่างไร ดังจะแสดงในตารางประกอบคำอธิบายต่อไปนี้
1. การฝึกอบรม (Training of subordinates) องค์การ ควรจะมีการฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเสมอ เพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่การฝึกอบรมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ปฏิบัติอยู่ว่าเป็น งานลักษณะใด และขึ้นอยู่กับงบประมาณ
2. การมอบหมายอำนาจหน้าที่ต้องชัดเจน (Clarity of delegation of authority) ผู้ บริหารควรมอบหมายงานที่เห็นว่าสมควรให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้กระทำแทน และควรจะมอบหมายทั้งอำนาจและการตัดสินใจไม่ควรจะมอบแต่งาน จะต้องมอบอำนาจให้เขาด้วย และการมอบหมายงานจะต้องชัดเจนว่าจะให้เขาทำอะไรและใช้เวลาในการทำนานเท่าไร แต่วิธีการทำควรให้เขาเป็นผู้คิดเองและควรให้คำแนะนำในกรณีที่เคยเกิดปัญหา หรือคาดว่าจะเกิดเท่านั้น
3. ความชัดเจนของแผน (Clarity of plan) ผู้ บริหารมีหน้าที่หลักในการวางแผน เพื่อจะได้วางแผนให้ครอบคลุมทุกสิ่งในองค์การ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ ทรัพยากรต่างๆ อำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย กฎระเบียบต่างๆ ในองค์การ ผู้บริหารจะกำหนดไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติเกิดการสับสน
4. การใช้จุดประสงค์มาตรฐาน (Use of objective standard) ผู้ จัดการจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การให้แน่นอนและตั้งเป็นมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้อย่างถูกต้อง แต่ในการกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้รับกับการเปลี่ยนแปลง ที่อาจเกิดขึ้น
5. เทคนิคการติดต่อสื่อสาร (Communication techniques) ผู้ บริหารควรมีทักษะในการติดต่อสื่อสารเพราะการมอบหมายงานจะประสบความสำเร็จ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการสื่อความหมายและเทคนิคในการสื่อสาร องค์การขนาดใหญ่มักจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนได้ ง่าย
6. จำนวนของการติดต่อระหว่างบุคคลในฝ่ายต่างๆ(Amount of personal contact needed) ลักษณะ โครงสร้างขององค์การแบบกว้างเหมาะสำหรับองค์การที่มีการติดต่อสื่อสารกันมาก ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้ไม่เสียเวลาในการสื่อสารและยังลดความผิดพลาดลงได้
7. ความผันแปรของระดับขององค์การ(Variation by organization) ระดับ ขององค์การอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกิจกรรมองค์การที่เพิ่มขึ้น เช่นมีการผลิตสินค้าหลายประเภทขึ้น องค์การก็จำเป็นจะต้องมีหน่วยย่อยต่างๆ เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในหน่วยผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้  ผู้บริหารจะต้องเข้าไปควบคุมสั่งการให้ทั่วถึงด้วยเพื่อไม่ให้เกิดจุดบกพร่อง กระบวนการบริหารปัจจัย ส่งผลเมื่อมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงระบบใดๆ ในองค์การ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นในองค์การเสมอ มีผู้กล่าวว่าประสิทธิภาพของงานจะมุ่งตรงไปสู่ถนนที่ตัดผ่านการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนามักมีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดในสิ่งต่อไป นี้
1. เกิดบทบาทและเป้าหมายใหม่ขึ้นในองค์การ
2. การประเมินค่าของคนในองค์การสูงขึ้น
3. การวินิจฉัยสถานการณ์จะได้มาจากการสังเกตจากคนหลายกลุ่ม
4. เกิดการแสวงหาการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
5. เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
6. คนทุกคนในองค์การสามารถระบายความทุกข์ร้อนใจได้
7. เกิดประสบการณ์ใหม่ขึ้น
8. มีการประกาศเป้าหมายใหม่
9. เริ่มมีการวางแผนเป็นระยะๆ
10. สมาชิกเริ่มรู้ตัวเองว่ามีอะไรบ้างที่ตนยังไม่รู้
11. ตัดสินใจร่วมกันและสำนึกดีว่า ต้องทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ทำงานบนคน
12. พบเป้าหมายที่เป็นจริง แต่ละคนมีความเสี่ยงมากขึ้น

13. สามารถลบล้างระบบเก่า (Unfreezing) กลายเป็นเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้น

ขอขอบคุณ  http://srivilaisukanya.blogspot.com/2017/11/blog-post_21.html
สืบค้นวันที่ 31 พฤศจิกายน 2560
      

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คุณภาพ


คุณภาพ


 



คุณภาพ หมายถึง ลักษณะที่ดีเด่นของสิ่งใด ๆ   คุณภาพของสิ่งของอาจจะมองที่ลักษณะ ประโยชน์ใช้สอย ความทนทาน ความสวยงาม หรือประสิทธิภาพใน การใช้งาน เช่น เราต้องพัฒนาสินค้าของเราให้มีคุณภาพ เพื่อแข่งขันกับสินค้า ของผู้อื่นในตลาดโลก.  สินค้าหัตถกรรมของเรามีคุณภาพ จึงเป็นที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพหลายท่านได้ให้ความหมายซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ เป็นการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม

 

 2.2.1 ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality in Goods)
1. การปฏิบัติงานได้ (Performance) ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้
2. ความสวยงาม (Aesthetics) ผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปร่าง ผิวสัมผัส กลิ่น รสชาติ และสีสันที่ดึงดูดใจลูกค้า
3. คุณสมบัติพิเศษ (Special Features) ผลิตภัณฑ์ควรมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น
4. ความสอดคล้อง (Conformance) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้ตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้
5. ความปลอดภัย (Safety) ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด
6. ความเชื่อถือได้ (Reliabity) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ
7. ความคงทน (Durability) ผลิตภัณฑ์ควรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง
8. คุณค่าที่รับรู้ (Perceived Quality) ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้า
9. การบริการหลังการขาย (Service after Sale) ธุรกิจควรมีการบริการหลังการขายอย่างต่อเนื่องทำให้สินค้าสามารถคงคุณสมบัติหรือหน้าที่การงานที่สมบูรณ์ต่อไปได้ รวมทั้งบริการในการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วย 
2.2.2 ลักษณะของบริการที่มีคุณภาพดี (Quality in Services)
1. ความเชื่อถือได้ (Reliability) การบริหารสามารถให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ
2. ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ (Responsiveness) ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
3. ความสามารถ (Competence) พนักงานที่ให้บริการจะต้องมีทักษะและความรู้เพื่อปฏิบัติในการบริการ
4. ความสุภาพ (Courtesy) พนักงานผู้ให้บริการจะต้องมีมารยาทที่ดี เป็นมิตร และอ่อนน้อม
5. ความน่าไว้วางใจ (Credibity) ผู้ให้บริการจะต้องเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์, ความน่าไว้ใจและน่าเชื่อถือ
6. ความปลอดภัย (Security) การบริการจะต้องมีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยง
7. ความเข้าถึง (Access) การบริการควรจะง่ายต่อการติดต่อ
8. การติดต่อสื่อสาร (Communication) การบริการควรจะสามารถให้ข้อมูลเมื่อลูกค้าต้องการหรือสอบถาม
9. ความเข้าใจในตัวลูกค้า (Understanding the Customer) การเข้าใจลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละคน
2.2.3 ทัศนะคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี
1. ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้ดีตามรายละเอียดทางวิศวกรรม (Specification) ที่ระบุไว้2. ผลิตภัณฑ์คุ้มค่ากับเงินหรือราคาที่ลูกค้าจ่ายเพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นมา
3. ผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ โดยมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมด้วย
4. ผลิตภัณฑ์มีการบริการประกอบเพื่อความสะดวกของลูกค้า หรือเพื่อรักษาสภาพที่สมบูรณ์ของสินค้าให้คงอยู่ในช่วงระยะเวลาการใช้งานได้ตลอด
5. ผลิตภัณฑ์สร้างความภาคภูมิใจ ความประทับใจให้แก่ผู้ใช้ 
2.2.4 ทัศนคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีสำหรับ ผู้ผลิต คุณภาพที่ดี หมายถึง- การผลิตให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
1. การผลิตที่มีระดับของของเสียอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเป็น Zero Defect ซึ่งหมายถึงไม่มีของเสียจากการผลิตเลย
2. การผลิตตามตัวแปรที่ต้องการอย่างถูกต้อง ไม่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่ตั้งไว้- การผลิตที่มีระดับต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่มีความต้องการสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ในระดับราคาที่ยอมรับได้
คุณภาพคือสิ่งสำคัญในทุกๆการดำเนินงานของเรา เพราะนั้นหมายถึงความพึงพอใจของลูกค้า ความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าแบรนด์ต่างๆของเรา  ที่แอ็กซอลตานั้นคุณภาพเริ่มต้นที่บ้านของเรานั่นคือโรงงานที่เรามีกว่า 35 แห่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO/TS 16949  ที่มอบให้โดย the International Automotive Task Force ที่ให้สำหรับซัพพลายเออร์ของผู้ผลิตยานยนต์แบบ OEM   การดำเนินงานตามมาตรฐานอุตสาหกรรมทั่วไปนั้นเป็นเพียงก้าวแรกของพันธสัญญาด้านคุณภาพของเรา  การดำเนินงานของเรานั้นดำเนินตามมาตรฐานระบบคุณภาพการผลิตที่กำหนดเป้าหมายด้านคุณภาพและนำวิธีการทางด้านคุณภาพมาใช้  ในหลายๆกรณีคุณภาพที่ได้นั้นก็สูงกว่ามาตรฐานที่องค์การต่างๆกำหนดไว้
ก่อนที่วัตถุดิบจะถูกนำเข้าสู่โรงงาน เราตรวจสอบจนแน่ใจว่าวัตถุดิบนั้นได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ Conflict Minerals Policy ของแอ็กซอลตาจำเป็นจะต้องใช้ซัพพลายเออร์ในการจัดหาวัตถุดิบที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เรามีการติดตามตรวจสอบการผลิตทุกขั้นตอนตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบจนถึงการกระจายสินค้า  พนักงานของเราดูแลคุณภาพตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการและทุกคนต่างก็ตระหนักดีว่าคุณภาพว่าเป็นหัวใจสำคัญของการประเมินการทำงานและการให้รางวัล ตัวแทนของเราต่างรับผลตอบรับจากลูกค้ากลับมาและนำผลตอบรับนั้นเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการที่วางไว้  ในทุกส่วนของพันธสัญญาของแอ็กซอลตาคือการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา


ลักษณะของคุณภาพ
คุณภาพตามความหมาย คือคุณลักษณะของสินค้าและบริการที่สนองต่อความพึงพอใจของบุคคลตามที่ต้องการ ดังนั้นคุณลักษณะของคุณภาพจึงแยกออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1.คุณภาพของผลิตภัณฑ์
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ก็คือการดำเนินงานอย่างเป็นระบบซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนและกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามที่กำหนด โดยสามารถพิจารณาคุณสมบัติสำคัญได้ 8 ด้าน ได้แก่
1.      สมรรถนะ
2.      ลักษณะเฉพาะ
3.      ความเชื่อถือได้
4.      ความสอดคล้องตามที่กำหนด
5.      ความทนทาน
6.      ความสามารถในการให้บริการ
7.      ความสวยงาม
8.      การรับรู้คุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้า

การแบ่งชนิดของคุณภาพ

การแบ่งชนิดของคุณภาพก็คือระดับความเหมาะสม คุณภาพในการใช้งานและรูปร่างลักษณะ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

1.คุณภาพที่บอกกล่าว (Stated quality) 

หมายถึง คุณภาพที่กำหนดขึ้นระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายระดับคุณภาพ จะถูกกำหนดขึ้นจากการคาดหมายของผู้ซื้อ โดยที่ผู้ผลิตจะทำหน้าที่ผลิตให้เป็นไปตามสัญญา

2. คุณภาพที่แท้จริง (Real quality)
หมายถึง คุณภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มผลิตจนกระทั่งสินค้าหมดอายุ ระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพสูงเพียงใด ขึ้นอยู่กับการผลิต ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนกระบวนการผลิตจะต้องทำให้ดีที่สุด

3. คุณภาพที่โฆษณา (Advised quality)
หมายถึง คุณลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยผู้ผลิตหรือผู้ขาย เพื่ออ้างถึงสรรพคุณหรือ รับประกันคุณภาพให้กับลูกค้า ในเชิงการค้า

4. คุณภาพจากประสบการณ์ (Experienced quality)

            หมายถึง คุณภาพที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ของผู้ใช้สินค้าเอง คุณภาพจะดีไม่ดีอย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ หากผู้ใช้นำไปใช้ได้ผลดี ก็จะบอกว่าสินค้านั้นดี หากไม่ดี ก็จะบอกว่าสินค้านั้นไม่ดี

        คำว่า "คุณภาพ" (Quality) หมายถึง สิ่งที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า นั้นมีหมายความว่า หากเราสามารถบริการได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า แสดงว่า เรามีบริการที่ดี เช่นเดียวกัน หากเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เขาจะบอกว่าเราบริการไม่ดีในสากล  ความต้องการของลูกค้า  แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ร้านอาหาร

1. ความจำเป็น (Need) คือ สิ่งที่เป็นพื้นฐาน  ที่ลูกค้าต้องการได้รับ เช่น เข้าไปในร้านอาหาร  ก็มีความจำเป็นเรื่อง รสชาติ ต้องอร่อย  หรือไปพบแพทย์  มีความจำเป็น คือ เข้าไปรักษาแล้วต้องหายป่วย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บรรยากาศดี



2. ความคาดหวัง  (Expectation) คือ สิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง เพิ่มเติม เมื่อเข้าไปรับบริการ เช่น เข้าไปในร้านอาหาร  ก็อยากให้สั่งอาหารแล้วได้รับอาหารที่รวดเร็ว  มีบรรยากาศดี  บริการมีใจบริการ  ดูแลเอาใจใส่ดี  มีความกระตือรือร้น หรือเมื่อไปพบแพทย์ลูกค้าก็คาดหวัง ให้คุณหมอและพยาบาลดูแลเอาใจใส่  พูดจาดี  ใช้เวลารอแพทย์ ไม่เกิน 30 นาที บรรยากาศดีสะอาด กว้างขวาง มีขั้นตอนไม่มาก ไม่ต้องเดินติดต่อหลายจุด


ขอขอบคุณ  https://www.im2market.com
https://www.gotoknow.org
http://www.impressionconsult.com/web/index.php/articles/266-quality.html

สืบค้นวันที่  14/11/60 
 

การจัดการงานอาชีพ

การจัดการงานอาชีพ           การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจั...